เรื่องของปลาน้ำจืดบ้านเรา

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของปลา

ปลาน้ำจืดของไทย


ปลาเป็นสัตว์น้ำที่มีกระดูกสันหลัง มีครีบ มีเกล็ดหรือไม่มีเกล็ด และหายใจทางเหงือก ปลาอาศัยอยู่ในน้ำ อุณหภูมิของตัวปลาเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิของน้ำที่มันอาศัยอยู่ นักวิทยาศาสตร์จึงจัดปลาไว้ในกลุ่มสัตว์เลือดเย็น

ในบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ปลามีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ มีอยู่ประมาณ 20,000 ชนิด สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ที่มีจำนวนชนิดรองไปจากปลา ได้แก่ นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก

ปลาต่างชนิดกันมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป ขนาดของปลาอาจเล็กใหญ่ผิดกันไปได้ตั้งแต่ 1.2 เซนติเมตร จนถึง 22 เมตร ปลาส่วนใหญ่มีรูปร่างเพรียว หัวแหลมท้ายแหลม ที่มีรูปร่างเป็นอย่างอื่นก็มีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก

การแบ่งชนิดของปลาน้ำจืดแบ่งเป็น   2  ประเภทใหญ่ๆ คือ ปลาที่มีเกล็ด  และปลาที่ไม่มีเกล็ด(ปลาหนัง)

1.  ปลาที่มีเกล็ด คือ  ปลาที่มีเกล็ดล้อมรอบตลอดทั้งลำตัว ตั้งแต่หัวจรดไปถึงหาง ซึ่งเป็นเสมือนเกราะป้องกันลำตัว เช่น ปลาตะเพียน  ปลายี่สก  ปลากระโห้ เป็นต้น
2.  ปลาที่ไม่มีเกล็ดหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"ปลาหนัง" คือ  ปลาที่ไม่มีเกล็ดล้อมรอบลำตัว เช่น ปลากด  ปลาแขยง  ปลาสวาย  ปลาเทโพ เป็นต้น

ปลาน้ำจืดในประเทศไทยนั้น  มีมากมายหลายพันหลายหมื่นชนิดมีทั้งปลาที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ  ตามลำห้วย  หนอง  คลอง  บึง  อ่างเก็บน้ำ  เขื่อนต่างๆ ปลาที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น  เป็นปลาที่นักบริโภคหมายปองที่จะได้ลิ้มลองรสชาดของเนื้อปลาเป็นที่นิยมมากที่สุด  ซึ่งถือได้ว่าปลาธรรมชาติจะเป็นปลาที่มีรสชาดอร่อยที่สุด  เช่น  ปลาช่อน  ปลานิล  ปลาตะเพียน  ปลายี่สก  ปลาสลิด  เป็นต้น

ปลาชนิดเดียวกันที่มีความนิยมบริโภคอย่างมาก แต่เพราะความที่มีจำนวนน้อยและหายาก  ปลาเหล่านั้นก็ได้มีการเพาะพันธุ์เเละเพาะเลี้ยงเพื่อการจำหน่ายเพื่อบริโภคเพื่อจำหน่ายและมีตวามนิยมที่รองลงมาจากปลาธรรมชาติก็คือ ปลาเศรษฐกิจปลาเศรษฐกิจที่มีเกษตรกรจำนวนมากได้เพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายจำนวนมาก เช่น  ปลาทับทิม  ปลานิล  ปลาช่อน  ปลาสวาย  ปลาจาระเม็ดน้ำจืด(เปคู)  ปลาสลิด  อีกทั้งยังมีปลาธรรมชาติ


ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องของการตกปลา  เราควรที่จะรู้จักปลาชนิดต่างๆ รู้จักหน้าตา และอุปนิสัยการกิน การอยู่อาศัยของปลา  ซึ่งจะเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ในการจัดสรรหาเสาะแสวงหาเหยื่อเพื่อที่จะนำไปตกปลาตามชนิดและความต้องการในการตกปลาได้อย่างถูกต้อง  การตกปลาละชนิดไม่ว่าจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือจะอาศัยอยู่ในบ่อเลี้ยงปลา โดยส่วนใหญ่นิสัยของปลาก็จะมีนิสัยที่คล้ายๆ กันหรือเหมือนกัน เช่น  ปลาช่อน ปลาชะโด ไม่ว่าจะอาศัยอยู่แหล่งน้ำใด ปลาชนิดนี้ก็มีนิสัยห่วงถิ่น  ค่อนข้าวดุ และกินปลาเล็กหรือกบเขียดตัวเล็กๆหรือแมลงเป็นอาหาร เป็นต้น


ปลาน้ำจืดที่นิยมในการบริโภคของคนไทย

ปลาช่อน

ชื่อไทย
ช่อน, ค้อ

ชื่อสามัญ



STRIPED SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์



Channa striatus
ถิ่นอาศัย



แพร่กระจายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ
อาหาร



เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ขนาด



ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ประโยชน์



เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาใช้ทำอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น ตากแห้ง ปลาร้า ปลารมควัน

ปลาชะโด

ชื่อไทย
ชะโด, แมลงภู่, อ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ



GIANT SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์



Channa micropeltes
ถิ่นอาศัย



ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
อาหาร



สัตว์น้ำต่าง ๆ
ขนาด



ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ประโยชน์



ปลาเศรษฐกิจสำคัญ เมื่อปลามีขนาดเล็กใช้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยมีชื่อเรียกว่า "ปลาตอร์ปิโด" ส่วนปลาที่มีขนาดใหญ่ใช้บริโภคมีรสชาติดีเยี่ยม






ปลากระสูบขีด


ชื่อไทย



กระสูบขีด
ชื่อสามัญ



TRANSERSE-BAR BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์



Hampala macrolepidota Van Hasselt
ถิ่นอาศัย



พบในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ภาคใต้ที่พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี และในทะเลสาบสงขลา ภาคกลางพบที่แม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยไปจนถึงบึงบอระเพ็ด แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ภาคเหนือ พบที่แม่น้ำปิง แม่น้ำจีน และภาคอีสานพบที่แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำศรีสงครามและในเขตจังหวัดชลบุรี จันทบุรี และตราด

อาหาร



กินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร
ขนาด



ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเคยพบภายในประเทศไทยยาวเกิน 50 เซนติเมตร
ประโยชน์



เป็นอาหารได้ทั้งสด และแปรรูป เช่น รมควันและตากแห้ง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปลากระสูบจุด










ชื่อไทย



กระสูบจุด
ชื่อสามัญ



EYE-SPOT BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์



Hampala dispar Smith
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำมูลที่อุบลราชธานี หนองหานจังหวัดสกลนคร แม่น้ำศรีสงครามจังหวัดนครพนม และห้วยหลวงจังหวัดอุดรราชธานี  



อาหาร



กินลูกกุ้ง ลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ขนาด



ความยาวประมาณ 11-20 เซนติเมตร
ประโยชน์



เป็นอาหารได้ทั้งสดและดองทำเป็นปลาร้า ปลาเจ่า

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปลาหมอ
 
 
ชื่อไทย



หมอไทย, หมอ, สะเด็ด, เข็ง
ชื่อสามัญ



COMMON CLIMBING PERCH
ชื่อวิทยาศาสตร์



Anabas testudineus
ถิ่นอาศัย



แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ ภาคเหนือเรียกปลาสะเด็ด ภาคอีสานเรียกปลาเข็ง  



อาหาร



กินลูกปลา ลูกกุ้ง แมลง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาด



ความยาวประมาณ 7-23 เซนติเมตร
ประโยชน์



เนื้อมีรสอร่อยมีก้างแข็งแทรกปะปนอยู่กับเนื้อ ควรระมัดระวังในการรับประทาน 





  •  ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



  • ปลาหมอเทศ
     
     
    ชื่อไทย



    หมอเทศ
    ชื่อสามัญ



    JAVA TILAPIA
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Tilapia mossambica
    ถิ่นอาศัย



    ในแม่น้ำ ทะเลสาบ เดินมีถิ่นกำเนิดในทวีปอาฟริกา
    อาหาร



    กินพืชน้ำสาหร่าย ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
    ขนาด



    มีความยาว 10-29 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อใช้ปรุงอาหาร 





  • ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



  • ปลาหมอช้างเหยียบ

    ชื่อไทย
    หมอช้างเหยียบ, หมอโค้ว, ก๋า, สะโต๊ก




    ชื่อสามัญ
    STRIPED TIGER NANDID  



    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Pristolepis fasciatus
    ถิ่นอาศัย



    ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง
    อาหาร



    กินไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
    ขนาด



    ความยาวโดยทั่วไป 5-20 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อปลาใช้เป็นอาหาร

    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ปลานิล
     
     
    ชื่อไทย



    นิล
    ชื่อสามัญ



    NILE TILAPIA
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Tilapia nilotica
    ถิ่นอาศัย



    ปลานิลเข้าสู่ ประเทศไทยครั้งแรกโดยเจ้าชายอากิฮาโต มกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายต่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อ  ปัจจุบันได้มีการขยายพันธุ์และปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศไทย

    อาหาร



    กินได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    แพร่ขยายพันธุ์ง่ายเนื้อมีรสดี ปัจจุบันเป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันมาก

    ปลาไน
     

    ชื่อไทย



    ไน, หลี, หลีโกว
    ชื่อสามัญ



    COMMON CARP
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Cyprinus carpio
    ถิ่นอาศัย



    อยู่ในแม่น้ำ หนอง บึง หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
    อาหาร



    เป็นปลากินพืช แมลง
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 20-75 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อของปลาไนมีรสดีแต่มีกลิ่นคาวมาก ประเทศจีนสมัยโบราณ ปลาไนถือเป็นอาหารของฮ่องเต้ หวงห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปจับมาเป็นอาหาร

    ปลาตะเพียน


    ชื่อไทย



    ตะเพียนขาว, ตะเพียน
    ชื่อสามัญ



    COMMON SILVER BARB
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Puntius gonionotus
    ถิ่นอาศัย



    พบตามแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งทั้งในภาคลาง ภาคเหนือและภาคอีสาน
    อาหาร



    กินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย แพลงก์ตอน ไรน้ำ

    ขนาด



    มีความยาวประมาณ 8-36 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เนื้อใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า ปลารมควันและใส่เกลือตากแห้ง


    ปลาตะโกก


    ชื่อไทย



    ตะโกก, โจก
    ชื่อสามัญ



    SOLDIER RIVER BARB
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Cyclocheillichthys enoplos
    ถิ่นอาศัย



    ในบริเวณที่ ลุ่มภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา พบตั้งแต่กรุงเทพฯ เรื่อยขึ้นไปถึงปากน้ำโพมีชุกชุมในบึงบอระเพ็ด แม่น้ำแม่กลองแถบจังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางภาคอีสานเรียก ว่าปลาโจก จับได้มากในแม่น้ำโขงที่หนองคาย นครนพมและอุบลราชธานี

    อาหาร



    หากินตามพื้นดิน กินพวกตัวอ่อนของหนอนและหอยน้ำจืด
    ขนาด



    พบทั่วไปยาว 30-40 เซนติเมตร แต่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ มีความยาวถึง 80 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสดี ราคาแพง นิยมนำมาทำเป็นอาหารประเภทต้มยำ

    ปลานวลจันทร์น้ำจืด
     

    ชื่อไทย



    นวลจันทร์น้ำจืด
    ชื่อสามัญ



    SMALL SCALE MUD CARP
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Cirrhina microlepis
    ถิ่นอาศัย



    อยู่ตามแม่น้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่อยุธยาขึ้นไปถึงนครสวรรค์ จนถึงบึงบอระเพ็ดทางภาคอิสานพบมากในลำน้ำโขง ชาวประมงบริเวณริมโขงแถบจังหวัดอุบลราชธานีเรียกปลา ตัวนี้ว่า "ปลานกเขา" ส่วนชื่อ "นวลจันทร์" หรือ "นวลจันทร์น้ำจืด" เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกกันในภาคกลาง
    อาหาร



    เป็นปลาที่กินอาหารไม่เลือก กินได้ทั้งพืช กุ้ง แมลงและตัวอ่อนของแมลง
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เคยพบตัวยาวที่สุดถึง 80 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อย

    ปลายี่สกไทย
     
     
    ชื่อไทย



    ยี่สก, ยี่สกไทย
    ชื่อสามัญ



    JULLIEN'S GOLDEN-PRICE CARP
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Probarbus jullieni
    ถิ่นอาศัย



    อยู่ตามแม่น้ำที่พื้น เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูวางไข่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30-40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางแม่น้ำ ก่อนวางไข่พ่อแม่ปลาจะไล่กันเสียงดัง ชาวบ้านเรียกว่า "ปลาบ้อน" การผสมพันธุ์เรียกว่า ปลาถือกัน ฤดูวางไข่ตกราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
    อาหาร



    กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน

    ขนาด



    ใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กก.
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อย ราคาแพง

    ปลายี่สกเทศ
     

    ชื่อไทย



    ยี่สกเทศ
    ชื่อสามัญ



    ROHU
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Labeo rohita
    ถิ่นอาศัย



    แต่เดิมมีถิ่น กำเนิดอยู่ในอินเดีย นักวิชาการประมงของไทยทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียมได้เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2511 ต่อมาได้แพร่ขยายพันธุ์ไปในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ชอบอยู่ ตามแม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีพื้นเป็นกรวดทรายและอุดมสมบูรณ์ด้วยแพลงก์ตอนสีเขียว

    อาหาร



    กินแพลงก์ตอนและพืชน้ำขนาดเล็ก
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 15-70 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อยคล้ายคลึงกับปลายี่สก

    ปลากา, เพี้ย
     

    ชื่อไทย



    กา, เพี้ย
    ชื่อสามัญ



    GREATER BLACK SHARK
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Morulius chrysophekadion (Bleeker)
    ถิ่นอาศัย



    แหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้น ๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ
    อาหาร



    ตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ
    ขนาด



    ใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 48 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เป็นปลาสวยงามที่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังนิยมบริโภคกันมากในภาคเหนือและภาคอีสาน

    ปลาบ้า, ปลาพวง
     

    ชื่อไทย



    บ้า, พวง
    ชื่อสามัญ



    HOEVEN'S SLENDER CARP
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Leptobarbus hoeveni
    ถิ่นอาศัย



    เป็นปลาที่อยู่ รวมกันเป็นฝูง อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ตามหนองบึงในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี นครสวรรค์ พิจิตร แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขง

    อาหาร



    กินเมล็ดพืชและผลไม้ทุกชนิด
    ขนาด



    พบทั่วไปมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 50 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อใช้ปรุงอาหาร

    ปลากราย


    ชื่อไทย



    กราย, หางแพน, ตองกราย
    ชื่อสามัญ



    SPOTTED FEATHERBACK
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Notopterus chitala (Hamilton-Buchanan)
    ถิ่นอาศัย



    พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าปลาตองกราย

    อาหาร



    ได้แก่ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุงเหว เสือ ซิว และสร้อย
    ขนาด



    ที่พบทั่วไปมีความยาว 48-85 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อย เหมาะสำหรับใช้ทำลูกชิ้นหรือทอดมัน ส่วนเชิงของปลากราย นิยมกันว่า หากนำมาทอดจะมีรสชาติอร่อยกว่าเนื้อปลาส่วนอื่น ๆ

    ปลากระโห้
     

    ชื่อไทย



    กระโห้, กะมัน, หัวมัน
    ชื่อสามัญ



    SIAMESE GIANT CARP
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Catlocarpio siamensis Boulenger
    ถิ่นอาศัย



    เคยมีชุกชุมใน ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงบึงบอระเพ็ด ในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฎให้พบเห็นอยู่บ้างในลำน้ำโขง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกชื่อปลานี้ว่า ปลากะมัน หรือหัวมัน

    อาหาร



    กินแพลงก์ตอนและพันธุ์ไม้น้ำ
    ขนาด



    เคยมีผู้จับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ.2466 มีขนาดยาวถึง 3 เมตร โดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 1-2 เมตร

    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อยใช้ปรุงเป็นอาหารได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิงเนื้อเพดานปากของปลาชนิดนี้กล่าวกันว่ามีรสชาติโอชะยิ่งนัก

     ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





    ปลาจีน




    ปลาจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา 3 ชนิด คือ ปลาเฉาหรือเฉาฮื้อ หรือปลากินหญ้า ปลาลิ่นหรือปลาลิ่นฮื้อ หรือปลาเกล็ดเงิน และปลาซ่งหรือซ่ง ฮื้อหรือปลาหัวโต ปลาทั้งสามชนิดนี้เป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศจีน เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทย พบว่า ปลาทั้งสามชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะ การเลี้ยงในบ่อที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปลาจะไม่วางไข่ในบ่อเลี้ยง จึงจำเป็นต้องเพาะพันธุ์ดดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม
    แหล่งกำเนิด
    ปลาจีน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง

    ลักษณะทั่วไป
    ในบรรดาปลาจีนทั้ง 3 ชนอดนี้ ปลาลิ่นและปลาซ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด จะสังเกตุความแตกต่างได้จากลักษณะของหัว ซึ่งปลา ซ่งมีหัวค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปลาหัวโต (Bighead carp) ไม่มีสันบริเวณท้อง ตรงข้ามกับปลาลิ่นซึ่งมีหัวขนาดเล็ก กว่าและมีสันแหลมบริเวณท้อง ปลาทั้งสองชนิดนี้มีเกล็ดสีเงินแวววาว แต่บางครั้งเกล็ดของปลาซ่งจะมีสีดำเป็นจุดอยู่บนเกล็ดบางส่วน สำหรับปลาเฉานั้นมี เกล็ดขนาดใหญ่ นอกจากนั้นลำตัวยังกลมและยาวมากกว่า ส่วนหลังมีสีดำน้ำตาล ส่วนท้องสีขาว

    (อ้างอิง : กรมประมง  http://www.fisheries.go.th/if-suratthani/1plajeen.htm) 
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      ปลาแรด
     
     
    ชื่อไทย



    แรด, เม่น, มิ่น
    ชื่อสามัญ



    GIANT GOURAMI
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Osphronemus goramy
    ถิ่นอาศัย



    ในแม่น้ำและ หนองบึงที่มีทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ภาคกลางพบที่แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และในลำน้ำเจ้าพระยาและสาขา ทางปักษ์ใต้เรียกกันว่า ปลาเม่นหรือปลามิน พบในลำน้ำตาปี และสาขา

    อาหาร



    กินพืชแทบทุกชนิด
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสดีใช้ปรุงเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีความเชื่องมาก


    ปลาสลิด



    ชื่อไทย



    สลิด, ใบไม้, ปาน
    ชื่อสามัญ



    SNAKESKIN GOURAMI
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Trichogaster pectoralis

    ถิ่นอาศัย



    พบในแหล่งน้ำ นิ่งตามหนองบึง และที่ลุ่มภาคกลาง ในอดีตดอนกำยานจังหวัดสุพรรณบุรีเคยเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นแหล่งที่มีปลา สลิดชุกชุมและเนื้อมีรสชาติดียิ่งนัก ปัจจุบันมีการเลี้ยงกันอย่าง เป็นล่ำเป็นสัน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการและฉะเชิงเทรา

    อาหาร



    กินแมลงน้ำตัวอย่าง ลูกน้ำ ลูกไร ตะไคร่น้ำ และแพลงก์ตอน
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    ใช้ปรุงเป็นอาหารโดยทำปลาแห้ง



    ปลาพลวง
     

    ชื่อไทย



    พลวง, พลวงหิน, มุง
    ชื่อสามัญ



    SORO BROOK CARP
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Tor soro Tor soro
    ถิ่นอาศัย



    อยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ละ 10-20 ตัว อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำตกและลำธารบนภูเขาพบทั่วไป

    อาหาร



    กินแมลง พืชและผลไม้
    ขนาด



    โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่พบมีความยาวถึง 50 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้


    ปลาม้า


    ชื่อไทย



    ม้า, กวาง
    ชื่อสามัญ



    SOLDIER CROAKER
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Nibea soldado
    ถิ่นอาศัย



    แหล่งน้ำจืดพบ มาก แม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนนนทบุรีจนถึงชัยนาท ภาคอีสานจับได้เป็นจำนวนมากจากแม่น้ำโขงเรียกกันว่า ปลากวาง

    อาหาร



    สัตว์ต่าง ๆ
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 17-60 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร ได้ดี ถุงลมนำไปตากแห้งสำหรับทอดหรือต้มตุ๋นเป็นอาหาร ที่เราเรียกกันว่า กระเพาะปลา และทำเป็นการที่เรียกกว่า ไอชิงกลาส


    ปลากระมัง


    ชื่อไทย



    กระมัง, มัง, หวี, เลียม, เหลี่ยม, แพะ, สะกาง
    ชื่อสามัญ



    SMITH'S BARB

    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Puntioplites proctozsron (Bleeker)
    ถิ่นอาศัย



    ในแหล่งน้ำจืดทั่ว ประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม
    อาหาร



    พืชพันธุ์ไม้น้ำ อินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 13-15 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวประมาณ 22-22.5 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    ปลากระมังใช้เป็นอาหารได้ทั้งสดและตากแห้ง


    ปลาบู่


    ชื่อไทย



    บู่ทราย, บู่จาก, บู่ทอง, บู่เอื้อย, บู่สิงโต
    ชื่อสามัญ



    MARBLED SLEEPY GOBY, SAND GOBY

    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Oxyeleotris marmoratus

    ถิ่นอาศัย



    แพบแพร่กระจายอยู่ใน แม่น้ำ ลำคลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ในกระชังที่แขวนลอยอยู่ในแม่น้ำทางแถบ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ และอยุธยา
    อาหาร



    กินลูกกุ้ง ลูกปลาและหอย เป็นปลาที่กินจุ สามารถกินอาหารหนักเท่ากับน้ำหนักของมันต่อวันและทุก ๆ วัน
    ขนาด



    พบทั่วไปความยาว 20-30 เซนติเมตร แต่ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร จัดว่าเป็นปลาบู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

    ประโยชน์



    เนื้อของมันนุ่ม รสดี เป็นปลาที่มีก้างน้อย แต่คนไทยไม่นิยมกินเพราะรังเกียจผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนังงูและมีความเชื่อถือเกี่ยวกับนิทานปรำปราว่าเป็นปลา ซึ่งกลายร่างมาจากคน ส่วน คนจีนนิยมรับประทานเพราะเชื่อว่าให้พลังทางเพศ


    ปลาดุก



    ชื่อไทย



    ดุกด้าน, ดุก
    ชื่อสามัญ



    BATRACHIAN WALKING CATFISH
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Clarias batrachus
    ถิ่นอาศัย



    อยู่ตาม คู หนอง บึง ซึ่งเป็นน้ำนิ่ง

    อาหาร



    สัตว์ทั้งที่มีชีวิตและซากของสัตว์
    ขนาด



    ความยาวลำตัวประมาณ 10-40 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เป็นปลาเศรษฐกิจใช้เป็นอาหาร


    ปลาแขยง



    ชื่อไทย



    แขยงข้างลาย
    ชื่อสามัญ



    IRIDESCENT MYSTUS

    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Mystus vittatus
    ถิ่นอาศัย



    พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึง

    อาหาร



    กินลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหารได้


    ปลากดหิน
     
     
    ชื่อไทย



    กดหิน, แขยงหิน
    ชื่อสามัญ



    SIAMESE ROCK CATFISH
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Leiocassis siamensis Regan

    ถิ่นอาศัย



    อยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ

    อาหาร



    กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้


    ปลากดเหลือง





    ชื่อไทย



    กดเหลือง, กดนา  




    อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae)



    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Hemibagrus filamentus
    ถิ่นอาศัย



    พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
    อาหาร



    กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 5 - 45 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้



    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      ปลากดคัง
                                                               
    (อ้างอิงภาพ : เวบจ้าวน้อยฟิชชิ่ง)


    ปลากดคังหรือ กดแก้ว กดหางแดง กดข้างหม้อ กดเขี้ยว หรือ ปลาคัง มีชื่อสามัญว่า Red tail Mystus และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystus wyckioides (Chaux and Fang,1949) ปลากดคังเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติเป็นที่นิยมของผู้บริโภคและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ทำให้มีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง พบแพร่กระจายกว้างขวาง มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำธรรมชาติ บริเวณแม่น้ำลำคลอง ตลอดจนอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนต่าง ๆ ทั่วไป
    (วารสารฟาร์มมิ่ง ปีที่ 5 ฉบับที่ 33 พ.ศ.2542 โดย วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ กองประมงน้ำจืด กรมประมง)


    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      ปลาแค้


    ชื่อไทย



    แค้, ตุ๊กแก
    ชื่อสามัญ



    GIANT BAGARIUS
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Bagarius yarrelli

    ถิ่นอาศัย



    แม่น้ำสายใหญ่ ๆ แทบทุกสาย เช่น ภาคเหนือที่แม่น้ำปิง จ.เชียงใหม่ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากน้ำโพ จ. นครสวรรค์ แม่น้ำโขง จ.หนองคาย และภาคใต้ ที่แม่น้ำปัตตานี
    อาหาร



    กินกุ้ง ปลา กบและสัตว์น้ำที่อาศัยหน้าดิน
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร

    ประโยชน์



    ใช้ในการบริโภค


    ปลาสวาย
     

    ชื่อไทย



    สวาย
    ชื่อสามัญ



    STRIPED CATFISH
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Pangasius sutchi
    ถิ่นอาศัย



    พบเห็นตามแม่ น้ำลำคลอง ในที่ร่มใกล้พืชพันธุ์ไม้น้ำ หรือบริเวณใต้แพ กร่ำ หรือใต้กอผักตบชวา นับแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาลงไปจนถึงจังหวัดนครสวรรค์และในลำน้ำโขง

    อาหาร



    กินซากสัตว์และซากพืชที่เน่าเปื่อยรวมทั้งวัชพืช ลูกหอย หนอน ไส้เดือน
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 20-100 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสโอชะ นิยมบริโภคกันมานับแต่ครั้งโบราณกาล


    ปลาบึก 



    ชื่อไทย



    บึก, ไตรราช
    ชื่อสามัญ



    MEKONG GIANT CATFISH
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Pangasianodon gigas
    ถิ่นอาศัย



    แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแหล่งเดียวในโลกที่เป็นถิ่นอาศัยของปลาบึก
    อาหาร



    กินตะไคร่น้ำ ลูกปลาวัยอ่อน กินไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงและกินลูกปลาขนาดเล็ก
    ขนาด



    ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาว 2.5 เมตร แต่มีรายงานบางแห่ง บันทึกไว้ว่ามีความยาวถึง 3.0 เมตร
    ประโยชน์



    เนื้อปลามีรสดีและราคาแพงมาก


    ปลาเทโพ



    ชื่อไทย



    เทโพ, หูหมาด
    ชื่อสามัญ



    BLACK EAR CATFISH
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Pangasius larnaudi
    ถิ่นอาศัย



    แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด

    อาหาร



    กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์
    ขนาด



    ความยาวประมาณ 80-120 เซนติเมตร

    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อย ใช้ปรุงอาหาร


     ปลาเทพา


     
    ชื่อไทย



    เทพา
    ชื่อสามัญ



    CHAO PHRAYA GIANT CATFISH
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Pangasius sanitwongsei
    ถิ่นอาศัย



    ในอดีตมีชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันหาได้ยาก แม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำที่มีปลาชนิดนี้ชุกชุม

    อาหาร



    กินปลา สัตว์น้ำทั้งที่เป็นและตายแล้ว

    ขนาด



    ความยาวประมาณ 1.0-2.5 เมตร
    ประโยชน์



    เนื้อปลาใช้เป็นอาหารได้




    ปลาเค้า



    ชื่อไทย



    เค้า
    ชื่อสามัญ



    GREAT WHITE SHEATFISH

    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Wallagonia attu
    ถิ่นอาศัย



    พบอยู่ตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด แม่น้ำโขง
    อาหาร



    กินปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาสร้อย
    ขนาด



    เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวถึง 2 เมตร และพบทั่วไปประมาณ 80-100 เซนติเมตร

    ประโยชน์



    เนื้อมีรสดีมาก โดยเฉพาะเมื่อนำไปทำเป็นปลาร้า



    ปลาฉลาด


    ชื่อไทย



    สลาด, ฉลาด, ตอง, หางแพน, วาง

    ชื่อสามัญ



    GREY FEATHER BACK
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Notopterus notopterus
    ถิ่นอาศัย



    พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียกหางแพน แต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า ปลาวาง ภาคอีสานมีชื่อว่า ปลาตอง
    อาหาร



    กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ
    ขนาด



    โดยทั่วไปมีความยาว 15-20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาวถึง 30 เซนติเมตร

    ประโยชน์



    เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร หรือนำมาแปรรูปเป็นปลารมควัน


      ปลากระทิง


     
    ชื่อไทย



    กระทิงดำ, หลาด
    ชื่อสามัญ



    ARMED SPINY EEL
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Mastacembelus armatus Gunther
    ถิ่นอาศัย



    ในแม่น้ำ หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาค
    อาหาร



    กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
    ขนาด



    เคยมีผู้พบ ยาวถึง 70 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อย ปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง




    ปลาหลด



    ชื่อไทย



    หลด, หลดจุด
    ชื่อสามัญ



    SPOTTED SPINY EEL

    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Macrognathus siamensis
    ถิ่นอาศัย



    พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ชอบฝังตัวในดินโคลน หรือบริเวณที่มีใบไม้เน่าเปื่อย
    อาหาร



    กินสัตว์เล็ก เช่น ไส้เดือน ตัวอ่อนของแมลงและเนื้อสัตว์ที่เน่าเปื่อย

    ขนาด



    ความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร
    ประโยชน์



    เนื้อมีรสอร่อยใช้รมควัน แกงเผ็ดและต้มยำ ต่างประเทศเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


    ปลาไหล

     
    ชื่อไทย
    ไหล, ไหลนา, เหยี่ยน

    ชื่อสามัญ



    SWAMP EEL
    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Fluta alba
    ถิ่นอาศัย



    พบตามหนอง บึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง อาจจะพบในนาข้าว ร่องสวน ในบริเวณที่เป็นโคลนเลน
    อาหาร



    กินทั้งสัตว์ที่มีชีวิต และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย

    ขนาด



    ความยาวประมาณ 29-150 เซนติเมตร

    ประโยชน์



    เนื้อมีรสชาติดี ใช้ปรุงเป็นอาหาร บางท่านนิยมปล่อยปลาไหลเพื่อสะเดาะเคราะห์

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




  • ปลาตูหนา

    ชื่อไทย
    ตูหนา, สะแงะ, ไหลหูดำ




    ชื่อสามัญ



    TRUE EEL

    ชื่อวิทยาศาสตร์



    Anguilla australis
    ถิ่นอาศัย



    พบปลาตูหนาเป็นครั้ง แรกเมื่อ พ.ศ.2469 จังได้จากคลองบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มีความยาว 65 เซนติเมตร ชาวบ้านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปลาไหลไฟฟ้า บ้างก็ว่าเป็นมังกร ไม่ทราบว่า ใครตั้งชื่อว่าเป็น ปลาตูหนา ส่วนที่พบทางปักษ์ใต้แถบจังหวัดระนองและตรังเรียกว่า "ปลาไหลหูดำ" บางท่านกล่าวว่า มีอีกชนิดหนึ่งหูขาว เรียกว่า ปลาไหลหูขาว ทางภาคเหนือพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งงอยู่แถบมหาสมุทรอินเดีย เช่นเดียวกับตรังและระนอง ปลาตูหนา
    อาหาร



    กินปลา กุ้งและปูนา

    ขนาด



    ความยาวประมาณ 40-150 เซนติเมตร

    ประโยชน์



    เนื้อของปลาตูหนาเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนมากนิยมนำมาต้มยำหรือผัดเผ็ด


    ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์









    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น